Categories
สอนใช้เวิลด์เพรส

จัดการข้อมูลเวิลด์เพรสเบื้องต้น

การจัดการข้อมูลหลังบ้านของเวิลด์เพรส ได้จะต้องเป็นผู้ใช้ที่มี รหัสผู้ใช้ และรหัสผ่าน สำหรับผู้ควบคุมเท่านั้น เมื่อเข้าระบบแล้วสามารถคลิกสลับหน้าจอเพื่อจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ทั้งส่วน หน้าบ้านและหลังบ้าน ที่มุมบนซ้ายมือของแถบเมนูผู้ควบคุมด้านบนสุดของเว็บ

ไปหลังบ้าน
ไปหน้าบ้าน

เมื่อเข้าระบบถูกต้องแล้วจะพบแถบเครื่องมือด้านซ้าย เป็นหัวข้อของเนื้อหาต่างๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์ หลักๆ จะพบหัวข้อ ดังนี้

  • เรื่อง เป็นการจัดการข้อมูล ประกาศ
  • สื่อ เป็นการจัดการไฟล์ภาพที่ถูกอัพโหลด และแสดงบนเว็บไซต์
  • ความเห็น เป็นรายการผู้ใช้เขียนแสดงความเห็นในท้ายหน้าแต่ละหน้าที่เปิดรับความเห็นไว้
  • หน้า เป็นการจัดการเว็บเพจแต่ละหน้า ส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ลิงค์จากเมนู ส่วน หัว และ ท้าย เว็บไซต์
  • รูปแบบเว็บไซต์ ส่วนควบคุมหน้าจอและการแสดงผลของเว็บไซต์
  • ปลั๊กอิน ส่วนเสริมที่ใช้เสริมประสิทธิภาพในระดับการพัฒนาเว็บไซต์
  • ผู้ใช้ รายการผู้ใช้งานทั้งหมดที่ลงทะเบียนไว้
  • เครื่องมือ การจัดการข้อมูลบนเว็บในระดับการพัฒนาเว็บไซต์
  • ตั้งค่า การปรับแต่งเงื่อนไขการแสดงข้อมูลบนเว็บไซต์

เมื่อคลิกเข้าการจัดการข้อมูลในแต่ละหัวข้อจะคล้ายกัน ยกตัวอย่างการจัดการข้อมูลในหัวข้อ หน้า (Pages)

ตัวอย่าง รายการข้อมูลคลิกจากหัวข้อ หน้า (Pages) เมื่อเมาส์ชีบนรายการ เช่น Thank you (ลำดับ 4) จะมีลิงค์เข้าจัดการ แก้ไข (Edit), แก้ไขด่วน (Quick Edit), ทำซ้ำ (Copy), ถังขยะ (Trash) และ ดูหน้า (View)

แก้ไข (Edit)

เป็นการแก้ไขเนื้อหาของรายการนั้นได้ในรูปแบบของบล็อค (ฺBlock Editor) ซึ่งผู้ใช้สามารถ แก้ไขเนื้อหาได้อย่างอิสระ และเลือกใช้ข้อมูลที่เวิลด์เพรสเตรียมไว้ให้ หลากหลาย

ซึ่งที่ใช้บ่อยๆ ต้องใช้เสมอในการเขียนบทความ มีไม่กี่เครื่องมือ

  1. บล็อกข้อความ เครื่องมือ + ที่ปรากฎด้านบนของหน้า และ ปุ่ม + แทรกอยู่ระหว่างเนื้อหา มีมีเพื่อเพิ่มกล่องเครืองมือให้เลือกไปใช้ พร้อมทั้งมีตัวอย่างการแสดงผลก่อนคลิกไปใช้ให้ด้วย บล็อกข้อมูลที่ใช้กันทุกบทความไม่ได้ต่างจากการพิมพ์เอกสารทั่วไป เช่น ย่อหน้า (Paragraph), พาดหัว (Heading), หัวข้อ (Listing), ตาราง (Table) หรือ หน้าปก (Cover) ฯลฯ ในแต่ละบล็อคก็ยังสามรถจัดชิดซ้าย ขวา กึ่งกลาง และปรับ ตัวอักษร หน้า เอียง ขีดเส้นใต้ ได้อิสระในทุกส่วน บล็อคที่มีให้ใช้งานมาเยอะมากๆ แถมยังเพิ่มเติมบล็อคต่างๆ ที่ติดมากับบล็อคของปลั๊กอินที่ติดตั้งไว้ เวิลด์เพรสจึงทำกล่องค้นหามาไว้ให้เราค้นหา ซึ่งทำให้การเขียนบทความสะดวกมากขึ้น

2. Undo Redo เครื่องลูกศร ซ้าย ขวา บนแถบเครื่องมือ มีไว้สำหรับ ย้อนกลับ เดินหน้า (Undo Redo) หากมีการเขียนผิดเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างที่กำลังเขียนอยู่ หมายความว่าผู้เขียนไม่ต้องคอยกังวลความผิดพลาด ให้ลองเล่นลองเพิ่มแก้ไขข้อมูลกันให้เต็มที่ เพราะ Undo ได้

3. รุ่น (Revision) ช่วยย้อนหลังความผิดพลาดที่เกิดขึ้นหลังจากข้อมูลถูกปิดไปแล้ว ซึ่งจะไม่สามารถ ทำ Undo ได้ตาม ข้อ 2 แต่เวิลด์เพรส มีเครื่องมือที่ช่วยให้เราย้อนเวลาไปแก้ไขบทความในอดีตได้ เรียนว่า Revision หรือในภาษาไทย จะใช้คำว่า รุ่น แสดงอยู่บนแถบเครื่องมือด้านขวา (คลิกรูปเฟืองเพื่อ เปิด/ปิด แถบเครื่องมือได้)

เลื่อนแถบตรงกลาง หรือคลิกปุ่ม รุ่นก่อน (Previous) รุ่นต่อไป (Next) เพื่อเลือก รุ่น (Revision) ที่ต้องการ จะมีป้ายบอกรายละเอียด ผู้ใช้ วันที่ และเวลา ที่แก้ไขในแต่ละรุ่น ปุ่ม สามารถเช็คถูกกล่องข้อความ เปรียบเทียบรุ่น (Compare any two revisions) เพื่อดูความแตกต่างของรุ่นที่ไม่ได้แก้ไขต่อเนื้องกัน โดยเลือกต่อแหน่งของรุ่นสองรุ่น ที่แถบตรงกลางได้ด้วย

แก้ไขด่วน (Quick Edit)

คลิก แก้ไขด่วน (Quick Edit) เวิลด์เพรสจะขยายหัวข้อนั้น เพื่อให้ตั้งค่าเบื้องต้นได้บางส่วน เช่น หัวข้อ (Title), ชื่อลิงค์ (Slug), วันที่/เวลา (Date), ผู้เขียน (Author), รหัสผ่านป้องกันการมอง (Password), หน้าหลัก (Parent), ลำดับ (Order), เทมเพลท (Template), อนุญาติแสดงความเห็น (Allow Comments) และ สถานะ (Status) ซึ่งจะมีผลต่อการแสดงผลทันทีที่ทำการบันทึก

คัดลอก (Copy)

คลิก คัดลอก (Copy) จะนำผู้ใช้เข้าสู่หน้า แก้ไข ที่มีข้อมูลเหมือนกับบทความที่คัดลอกมาทุกประการณ์ สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลตามต้องการจนพอแล้วแล้วคลิกเผยแพร่ข้อมูล

ถังขยะ (Trash)

คลิก ถังขยะ (Trash) จะลบบทความนั้นลงไปเก็บในถังขยะทันที ผู้ใช้สามารถยกเลิกได้โดยการคลิกเข้าเมนู ถังขยะ (Trash) ในส่วนบนของหน้ารายการ เพื่อคลิกนำบทความกลับสู่รายการได้ และสามารถคลิกลบบทความอย่างถาวรได้ในหน้านี้

ดูหน้า (View)

การคลิกเข้าดูหน้าที่แสดงผลเหมือนกับเป็นผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่เป็นสมาชิกทุกประการณ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *